วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

วิชาประวัติศาสตร์ไทย(ภูมิปัญญาไทย)

ภูมิปัญญาไทย ความหมายของความรู้ที่เป็นภูมิปัญญา.ภูมิปัญญาไทย หมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถและทักษะของคนไทยอันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เลือกสรร ปรุงแต่ง พัฒนา และถ่ายทอดสืบต่อกันมาเพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย ภูมิปัญญาไทยนี้มีลักษณะเป็นองค์รวม มีคุณค่าทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นในวิถีชีวิตไทย ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นอาจเป็นที่มาขององค์ความรู้ที่งอกงามขึ้นใหม่ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา การจัดการและการปรับตัวในการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทย ลักษณะองค์รวมของภูมิปัญญามีความเด่นชัดในหลายด้าน เช่น ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม และหัตถกรรม ด้านการแพทย์แผนไทย ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ด้านศิลปกรรม ด้านภาษาและวรรณกรรมด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี และด้านโภชนาการ

วิชาประวัติศาสตร์ไทย(ภูมิปัญญาไทย)

ภูมิปัญญาไทย ความหมายของความรู้ที่เป็นภูมิปัญญา.ภูมิปัญญาไทย หมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถและทักษะของคนไทยอันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เลือกสรร ปรุงแต่ง พัฒนา และถ่ายทอดสืบต่อกันมาเพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย ภูมิปัญญาไทยนี้มีลักษณะเป็นองค์รวม มีคุณค่าทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นในวิถีชีวิตไทย ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นอาจเป็นที่มาขององค์ความรู้ที่งอกงามขึ้นใหม่ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา การจัดการและการปรับตัวในการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทย ลักษณะองค์รวมของภูมิปัญญามีความเด่นชัดในหลายด้าน เช่น ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม และหัตถกรรม ด้านการแพทย์แผนไทย ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ด้านศิลปกรรม ด้านภาษาและวรรณกรรมด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี และด้านโภชนาการ

วิชาประวัติศาสตร์ไทย2(เบ้าหลอมวัฒนธรรม)

เบ้าหลอมวัฒนธรรม

วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน
วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะวิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม
วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอด
อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกที่มีต่อสังคมไทย
-งานสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงปัจจุบัน

วิชาประวัติศาสตร์ไทย3(มามีส่วนร่วมกันเถอะ )

การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยการรักษาการส่งเสริมและการพัฒนาวัฒนธรรมมีหลายรูปแบบ คือ 1.การสร้างสรรค์วัฒนธรรม คือ การจัดกิจกรรมหรือดำเนินการ ให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การประดิษฐ์คิดค้น การวิจัยและพัฒนาทางวัฒนธรรม2.การส่งเสริมและสนับสนุน คือ การจัดกิจกรรม หรือดำเนินการใดๆ ที่ช่วยให้นักบริหาร นักวิชาการ หรือ ผู้ประกอบการทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน สมารถดำเนินงาน วัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น3.การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ คือ การจัดกิจกรรมหรือการดำเนินการเพื่อนำวัฒนธรรมไปสู่ประชาชน สื่อมวลชนทุกรูปแบบ4.การจัดบริการทางวัฒนธรรม คือ การจัดกิจกรรม หรือดำเนินการเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสสัมผัสวัฒนธรรมให้มีความรู้ความเข้าใจ ความซาบซึ้ง และการประพฤติปฏิบัติที่เหมาะสมถูกต้อง5.การอนุรักษ์ ทำนุบำรุง และฟื้นฟูวัฒนธรรม คือ การจัดกิจกรรมหรือการดำเนินการ เพื่อพิทักษ์รักษามรดกทางวัฒนธรรม ที่ได้สั่งสมสืบทอดมาจากอดีต แม้บางอย่างอาจไม่ใช้ประโยชน์ในปัจจุบันแล้วก็ตาม6.การสร้างเสริมประชาธิปไตยทางวัฒนธรรม คือ การจัดกิจกรรม หรือดำเนินการให้ประชาชนส่วนใหญ่ หรือทั้งหมด ได้มีโอกาส มีส่วนร่วม การแสดงความคิดเห็น การตัดสินใจ การจัดกิจกรรม และการดำเนินการทางวัฒนธรรม7. การเสริมสร้างความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน คือ การจัดกิจกรรมหรือการดำเนินการใดๆทางวัฒนธรรมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีการยอมรับวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมของกลุ่มชนในภูมิภาคต่างๆซึ่งกันและกัน8.การจัดการศึกษาเพื่อวัฒนธรรม คือ การจัดกิจกรรมหรือดำเนินการเพื่อพัฒนาให้ประชาชนมีความสามารถอ่านออกเขียนได้ สื่อความได้อย่างมีประสิทธิภาพ9.การปรับปรุงวัฒนธรรมในชีวิตประจำวัน คือ การจัดกินกรรมหรือดำเนินการในการปรับปรุงชุมชน ที่อยู่อาศัย หรือสิ่งแวดล้อม เครื่องอำนวยความสะดวก และสาธารณูปโภค10. การเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ คือ การจัดกิจกรรม หรือดำเนินการให้ประชาชนมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ มีความรู้ความเข้าใจในลักษณะดีเด่น ของหมู่คณะ และสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์11. การธำรงไว้ซึ่งคุณภาพและมาตรฐานของวัฒนธรรม คือ การจัดกิจกรรมหรือดำเนินการให้ประชาชนรักษาไว้ซึ่งคุณภาพ และมาตรฐานของความดีงามทางวัฒนธรรม12.การเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างชาติ คือ การจัดกิจกรรมหรือดำเนินการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับนานาประเทศแนวทางและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย

วิชาประวัติศาสตร์ไทย4(บุคคลสำคัญ)

บุคคลสำคัญ
จากการเรียนวิชาสังคมศึกษา มีเรื่องราวต่างๆ
ของไทยที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในเรื่องของ
บุคคลสำคัญของไทย นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึง
ปัจจุบัน พวกท่านเหล่านี้ล้วนแต่ได้ทำคุณประโยชน์
ในด้านต่างๆ ให้กับ ไทยมากมาย ซึ่งเรื่องราวของ
แต่ละท่านล้วนทรงคุณค่าควรแก่การยกย่อง
และประวัติของท่านแต่ละท่านล้วนให้ความรู้
แตกต่างกันในแต่ละด้าน เช่น ด้านการปกครอง
ด้านการทหาร ด้านการต่างประเทศ เป็นต้น
ดังนั้นจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเป็นการศึกษา
รวบรวมข้อมูลที่ควรรู้ เพื่อสืบทอด เรียนรู้ถึงประวัติ
และผลงานต่างๆ ของบุคคลสำคัญของไทย
ให้เป็นระบบ และมีรูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ
และง่ายต่อการศึกษาอีกด้วย

บุคคลสําคัญที่มีส่วนสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยและประวัติศาสตร์ไทย
สมัยรัตนโกสินทร์๒
สมเด็จเจ้าพระยา
บรมมหาศรีสุริยวงศ์
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นบุตรชายคนใหญ่ของสมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์ (ดิศ) กับท่านผู้หญิงจันทร์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๕๑ ในวัยเด็กได้รับการศึกษาจากวัด เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นในสมัยรัชกาลที่ ๒ บิดาซึ่งขณะนั้นเป็นพระยาพระคลัง นำไปถวายตัวเป็นมหาดเล็ก และทำงานด้านพระคลังและกรมท่าอยู่กับบิดา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ รับราชการมีความชอบมาก ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์มาตามลำดับ จนเป็นหมื่นไวยวรนาถ ใน พ.ศ. ๒๓๘๔ และเป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ในตอนปลายรัชกาล ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ว่าที่สมุหกลาโหมเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ฝักใฝ่สนใจศึกษาศิลปวิทยาของตะวันตก จึงจัดเป็นพวกหัวใหม่คนหนึ่งของสมัยนั้น ท่านกับบิดาของท่านได้คอยช่วยเหลือสนับสนุนพวกมิชชันนารีที่เข้ามาสมัยรัชกาลที่ ๓ เพื่อให้เผยแพร่วิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ออกไป เมื่อเซอร์จอห์นเบาว์ริง เข้ามาทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับไทยในสมัยรัชกาลที่ ๔ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ทรงเป็น ๑ ใน ๕ ที่รัชกาลที่ ๔ ทรงแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาข้อสัญญากับเซอร์จอห์น เบาว์ริง ทำการทำสนธิสัญญาสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี และต่อมาท่านได้เป็นผู้แทนฝ่ายไทยในการทำสนธิสัญญาลักษณะเดียวกันกับนานาประเทศในตอนปลายรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นวังหน้าหรือพระมหาอุปราชสวรรคต รัชกาลที่ ๔ ไม่ได้ทรงตั้งผู้หนึ่งผู้ใดขึ้นแทน ครั้นเมื่อรัชกาลที่ ๔ สวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๑๑ ที่ประชุมเสนาบดีและพระบรมวงศานุวงศ์จึงได้อัญเชิญเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเชิญเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ นอกจากนี้ยังเชิญกรมหมื่นบวรวิชัยชาญ พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวงสถานมงคล แม้จะมีผู้คัดค้านว่าการตั้งผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ควรให้เป็นพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่เสียงส่วนใหญ่ก็เห็นว่าควงจะตั้งไปเลย ทั้งนี้อาจเพราะเกรงใจ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ซึ่งสนับสนุนกรมหมื่นบวรวิชัยชาญนับเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ที่พระมหากษัตริย์ขึ้นเสวยราชย์ ขณะพระชนมพรรษาเพียง ๑๕ พรรษา และมีผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเป็นผู้ใช้อำนาจแทน จึงมีผู้หวั่นเกรงว่าอาจมีการชิงราชสมบัติดังเช่นที่พระยากลาโหมกระทำในสมัยอยุธยา แต่เหตุการณ์เช่นนั้นก็มิได้เกิดขึ้น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ได้บริหารราชการมาด้วยความเรียบร้อย พร้อมกันนั้นก็ได้จัดให้รัชกาลที่ ๕ ทรงได้รับการฝึกหัดการเป็นพระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณี และให้ทรงเรียนรู้ศิลปวิทยาการสมัยใหม่ควบคู่ไปด้วย นอกจากนั้นยังจัดให้เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวาใน พ.ศ. ๒๔๓๑ อินเดียและพม่าใน พ.ศ. ๒๔๑๕ เพื่อทอดพระเนตรแบบแผนการปกครอง ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเจริญของประเทศที่อยู่ในความปกครองของตะวันตก ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงนำแบบอย่างที่เหมาะสมมาปรับปรุงประเทศให้เจริญก้าวหน้าในเวลาต่อมาเมื่อรัชกาลที่ ๕ ทรงบรรลุนิติภาวะใน พ.ศ. ๒๔๑๖ ได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ ๒ ซึ่งแสดงว่าจะทรงว่าราชการบ้านเมืองเอง ในพระราชพิธีครั้งนี้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
แม้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จะพ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชกาลแผ่นดินแล้ว แต่ก็คงทำหน้าที่ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินต่อมา จนถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ. ๒๔๒๕ รวมอายุได้ ๗๔ ปี






สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นพระโอรสในรัชกาลที่ ๔ กับเจ้าจอมมารดาชุ่ม มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ประสูติเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕ ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นในพระบรมหมาราชวัง ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้รับการสถาปนาเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ แล้วเลื่อนเป็นกรมหลวง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้เลื่อนขึ้นเป็นกรมพระยา และเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาบ้านเมือง โดยเฉพาะการปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วนความวิริยะอุตสาหะ มีความรอบรู้ มีความซื่อสัตย์ และจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์
ผลงานสำคัญมี 3 ด้าน
การศึกษา
ใน พ.ศ. ๒๔๒๓ ทรงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก จึงเกี่ยวข้องกับการศึกษามาตั้งแต่นั้น เนื่องจากมีการตั้งโรงเรียนทหารมหาดเล็กขึ้นในกรมทหารมหาดเล็ก ต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงเรียนพลเรือน จนถึง พ.ศ. ๒๔๓๓ ทรงเป็นอธิบดีกรมศึกษาธิการและกำกับกรมธรรมการ จึงปรับปรุงงานด้านการศึกษาให้ทันสมัย เช่น กำหนดจุดมุ่งหมายทางการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ คือ ฝึกคนเพื่อเข้ารับราชการ กำหนดหลักสูตร เวลาเรียนให้เป็นแบบสากล ทรงนิพนธ์แบบเรียนเร็วขึ้นใช้เพื่อสอนให้อ่านได้ภายใน ๓ เดือน มีการตรวจคัดเลือกหนังสือเรียน กำหนดแนวปฏิบัติราชการในกรมธรรมการ และริเริ่มขยายการศึกษาออกไปสู่ราษฎรสามัญชน เป็นต้น
การปกครอง
ทรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยคนแรกเป็นเวลานานถึง ๒๓ ปี ติดต่อกันตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๔๕๘ ทรงมีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานระบบการบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคในแนวใหม่ โดยยกเลิกการปกครองที่เรียกว่า ระบบกินเมือง ซึ่งให้อำนาจเจ้าเมืองมาก มาเป็นการรวมเมืองใกล้เคียงกันตั้งเป็นมณฑล และส่งข้าหลวงเทศาภิบาลไปปกครองและจ่ายเงินเดือนให้พอเลี้ยงชีพ ระบบนี้เป็นระบบการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง นอกจากนี้มีการตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นในกระทรวงมหาดไทย เพื่อทำหน้าที่ดูแลทุกข์สุขราษฎร เช่น กรมตำรวจ กรมป่าไม้ กรมพยาบาล เป็นต้น ตลอดเวลาที่ทรงดูแลงานมหาดไทย ทรงให้ความสำคัญแก่การตรวจราชการเป็นอย่างมาก เพราะ ต้องการเห็นสภาพเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎร ดูการทำงานของข้าราชการ และเป็นขวัญกำลังใจแก่ข้าราชการหัวเมืองด้วย
งานพระนิพนธ์

ทรงนิพนธ์งานด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรมไว้เป็นจำนวนมาก ทรงใช้วิธีสมัยใหม่ในการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์และโบราณคดี จนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เนื่องจากมีปัญหาด้านสุขภาพ แต่ต่อมาเสด็จกลับเข้ารับราชการอีกครั้ง ในตำแหน่งเสนาบดีมุรธาธร และเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ ทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี งานสำคัญอื่นๆ ที่ทรงวางรากฐานไว้ ได้แก่ หอสมุดสำหรับพระนคร และงานด้านพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ ทรงเป็นต้นราชสกุล ดิศกุล ใน พ.ศ. ๒๕๐๕ ยูเนสโกประกาศยกย่องพระองค์ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเกียรติจากสถาบันแห่งนี้






สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ

กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าวัญอุไทยวงศ์ ประสูติเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๑ เป็นพระเจ้าลูกยาเธอองค์ที่สองในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาเปี่ยม
เมื่อมีพระชันษา ๑๗ ปี ทรงเข้ารับราชการทำหน้าที่ตรวจบัญชีคลังร่วมกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ ในสมัยนั้นการเก็บภาษีอากรของแผ่นดินยังไม่เป็นระเบียบ ผลประโยชน์ของแผ่นดินรั่วไหลมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินด้วยการตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ อันเป็นต้นกำเนิดของกระทรวงการคลังขึ้น มีการตั้งสำนักงานออดิต ออฟฟิศ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์เป็นหัวหน้าพนักงาน ซึ่งทรงปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดี ทรงพระปรีชารอบรู้ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และวิชาเลข ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ไปรับราชการช่วยเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ราชเลขฝ่ายต่างประเทศ หลังจากนั้นทรงดำรงตำแหน่งเป็นราชเลขาธิการ และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้ทรงกรม เป็นกรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ ทรงริเริ่มให้มีการตั้งทูตไทยประจำราชสำนักต่างประเทศ เพื่อความสะดวกในการเจรจากับกงสุลต่างประเทศ และทรงดำริที่จะทำสัญญากับอังกฤษจัดตั้งศาลต่างประเทศขึ้นที่เชียงใหม่ อันเป็นการ
เริ่มนำคนในบังคับต่างประเทศมาไว้ในอำนาจศาลไทย

ใน พ.ศ. ๒๔๒๔ ตำแหน่งเสนาบดีกรมท่าว่างลง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการเป็นเสนาบดีกรม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมชั้นผู้ใหญ่เป็นกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ทรงพยายามที่จะหาทางรักษาไมตรีระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ ให้ดำเนินไปด้วยดี กรณีวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ มีการปะทะกันระหว่างเรือของฝรั่งเศสกับไทย พระองค์ทรงช่วยผ่อนคลายสถานการณ์อันตึงเครียดถึงแม้ว่าจะต้องสูญเสียดินแดนไปบ้าง แต่ก็ยังคงรักษาเอกราชของไทยไว้ได้ นสมัยรัชกาลที่ ๖ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีสืบมา และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระอิสริยยศเป็นกรมพระเทวะวงศ์วโรปการ
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ ทรงเป็นมหาอำมาตย์ยศเทียบเท่ากับจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๖ พระชันษา ๖๕ ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล เทวกุล






สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ

เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นเจ้าฟ้าผู้ทรงพระปรีชาสามารถในวิชาการหลายแขนง ทรงเป็นปราชญ์ทางอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ดนตรี และงานช่าง พระองค์มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าจิตรเจริญ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับหม่อมเจ้าหญิงพรรณราย ประสูติที่ตำหนักในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๖ ทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนคะเด็ตทหาร จากนั้นผนวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร หลังจากนั้นทรงศึกษาวิชาการต่าง ๆ และราชประเพณี

พระองค์เจ้าจิตรเจริญทรงผนวชเป็นพระภิกษุใน พ.ศ. ๒๔๒๗ ครั้นลาผนวชแล้ว ทรงรัชราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระสติปัญญารอบรู้ เป็นที่วางพระราชหฤทัยจนได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ทรงรับราชการในตำแหน่งสำคัญ อยู่หลายหน่วยงานเพื่อวางรากฐานในการบริหารราชการให้มั่นคง ทั้งกระทรวงโยธาธิการ กระทรวงพระคลัง และกระทรวงวัง
ใน พ.ศ. 2452 ทรงกราบบังคมลาออกจากราชการ เนื่องจากประชวร ด้วยโรคพระหทัยโต ทรงปลูกตำหนักอยู่ที่คลองเตย และเรียกตำหนักนี้ว่า บ้านปลายเนิน ครั้นเมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ และโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกลับเข้ารับราชการอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงทรงพ้นจากตำแหน่ง
ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนกรมขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ในบั้นปลายพระชนม์ทรงประทับที่บ้านปลายเนินจนสิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ พระชันษา ๘๓ ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล จิตรพงศ์
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศนุวัดติวงศ์ ทรงมีพระปรีชาสามารถในงานช่างหลายแขนง ได้ทรงงานออกแบบไว้เป็นจำนวนมาก ทั้งงานภาพเขียนในวรรณคดี ภาพประดับผนัง พระราชลัญจกรและตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ ตาลปัตร ตลอดจนสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลาย เช่น พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พระอุโบสถวัดราชาธิวาส พระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ ฯลฯ ด้วยพระปรีชาสามารถทางด้านงานช่างนี้เอง ทำให้ทรงได้รับพระสมัญญานามว่า นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม

นอกจากนี้ยังทรงพระปรีชาสามารทางด้านดนตรี ทรงพระนิพนธ์เพลงเขมรไทรโยค เพลงตับนิทราชาคริต เพลงตับจูล่ง ฯลฯ ส่วนด้านวรรณกรรมทรงมีลายพระหัตถ์โต้ตอบกับสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นเอกสารที่มีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรมประเพณีและอักษรศาสตร์ ที่รู้จักกันทั่วไปในนาม สาส์นสมเด็จ ความที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงพระปรีชาสามารถในวิชาการหลายแขนงจึงมิได้เป็นบุคคลสำคัญของชาติไทยเท่านั้น หากแต่ทรงเป็นบุคคลที่ชาวโลกพึงรู้จัก โดยใน พ.ศ. ๒๕๐๖ อันเป็นวาระครบรอบร้อยปีแห่งวันประสูติ ยูเนสโกได้ประกาศให้พระองค์เป็นบุคคลสำคัญของโลกพระองค์หนึ่ง

ขรัวอินโข่ง

ขรัวอินโข่ง เป็นชื่อเรียกพระอาจารย์อิน ซึ่งเป็นจิตรกรในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขรัวอินโข่งเป็นชาวบางจาน จังหวัดเพชรบุรี บวชอยู่จนตลอดชีวิตที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) กรุงเทพฯ การที่ท่านบวชมานานจึงเรียกว่า ขรัว ส่วนคำว่า โข่ง นั้นเกิดจากท่านบวชเป็นเณรอยู่นานจนใคร ๆ พากันเรียกว่า อินโข่ง ซึ่งคำว่า โข่ง หรือโค่ง หมายถึง ใหญ่หรือโตเกินวัยนั่นเอง ขรัวอินโข่ง เป็นช่างเขียนไทยคนแรกที่มีความรู้ในการเขียนภาพทั้งแบบไทยที่นิยมเขียนกันมาแต่โบราณ และทั้งแบบตะวันตกด้วย นับเป็นจิตรกรคนแรกของไทยที่มีพัฒนาการเขียนรูปจิตรกรรมฝาผนังโดยการนำทฤษฎีการเขียนภาพแบบสามมิติแบบตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ในงานจิตรกรรมของไทยในยุคนั้น ภาพต่าง ๆ ที่ขรัวอินโข่งเขียนจึงมีแสง เงา มีความลึกและเหมือนจริง


ภาพจิตรกรรมฝาผนัง โดย ขรัวอินโข่ง

ผลงานของขรัวอินโข่งเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาก เคยโปรดเกล้าฯ ให้เขียนรูป
ต่างๆ ตามแนวตะวันตกไว้ที่พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นภาพเขียนแรก ๆ ของขรัวอินโข่ง นอกจากนั้นมีภาพเหมือนพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่หอพระราชกรมานุสรณ์
ภาพของขรัวอินโข่งเท่าที่มีปรากฏหลักฐานและมีการกล่าวอ้างถึง อาทิ ภาพเขียนชาดก เรื่องพระยาช้างเผือก ที่ผนังพระอุโบสถ และภาพสุภาษิตที่บานแผละ หน้าต่างพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาพพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ในหอพระราชพงศานุสรณ์ในพระบรมมหาราชวัง ภาพปริศนาธรรมที่ผนังพระอุโบสถวัดบรมนิวาส ภาพพระบรมรูปรัชกาลที่ ๔ ฯลฯ


การเขียนภาพแบบตะวันตก

ที่ใช้แสงและเงาสร้างเป็นภาพ 3 มิติ
ภาพเขียนจากฝีมือขรัวอินโข่งเหล่านี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดดเด่น แปลกตา ใช้สีเข้มและสีอ่อน แตกต่างจากงานจิตรกรรมที่เคยเขียนกันมาในยุคนั้น ทำให้เกิดรูปแบบใหม่ของงานจิตรกรรมในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เรียกกันว่า จิตรกรรมสกุลช่างขรัวอินโข่ง ที่เป็นต้นกำเนิดของงานจิตรกรรมไทยในยุคต่อ ๆ มา



พระประดิษฐ์ไพเราะ
(มี ดุริยางกูร)
พระประดิษฐ์ไพเราะ เป็นครูดนตรีไทยคนสำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ สันนิษฐานว่าเกิดตอนปลายสมัยรัชกาลที่ ๑ คนทั่วไปมักเรียกท่านว่า ครูมีแขก สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงสืบประวัติไว้ว่า ครูปี่พาทย์ชื่อครูมีแขกนั้น คือเป็นเชื้อแขก ชื่อมี ครูมีแขกเป็นผู้เชี่ยวชาญคนตรีไทยเกือบทุกประเภท ทั้งยังแต่งเพลงด้วย เพลงที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ทยอยนอก ทยอยใน 3 ชั้น
ในสมัยรัชกาลที่ 4 เจ้านายหลายพระองค์รวบรวมคนหัดปี่พาทย์ขึ้นเล่นประชันวงกัน ครูมี ได้เป็นครูปี่พาทย์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระประดิษฐ์ไพเราะ ตำแหน่งปลัดจางวางมหาดเล็ก ได้ว่ากรมปี่พาทย์ฝ่ายพระบรมมหาราชวัง ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เป็นครูมโหรีของกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร นอกจากมีความสามารถในการเป่าปี่แล้ว ครูมีแขกยังชำนาญในการสีซอสามสาย โดยได้แต่งเพลงเดี่ยวเชิดนอกทางซอสามสายไว้ด้วย
ครูมีแขกถึงแก่กรรมในสมัยรัชกาลที่ ๕ ประมาณระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๗ – ๒๔๒๑ ทิ้งไว้เพียงชื่อเสียง คุณงามความดี และคุณูปการอันมากล้นสำหรับวงดนตรีไทย




ดร.แดน บีช แบรดเลย์
(Dr.Dan Beach Bradley)

ดร.แดน บีช แบรดเลย์ ชาวไทยเรียกกันว่า หมอบรัดเลย์ หรือ ปลัดเล เป็นชาวนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๕ หมดบรัดเลย์เดินทางเข้ามายังสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๘ โดยพักอาศัยอยู่กับมิชชันนารี ชื่อ จอห์นสัน ที่วัดเกาะ เมื่อเข้ามาอยู่เมืองไทย ในตอนแรกหมอบรัดเลย์เปิดโอสถศาลาขึ้นที่ข้างใต้วัดเกาะ รับรักษาโรคให้แก่ชาวบ้านแถวนั้น พร้อมทั้งสอนศาสนาคริสต์ให้แก่ชาวจีนที่อยู่ในเมืองไทย ส่วนซาราห์ ภรรยาของหมอเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ
ต่อมาหมอบรัดเลย์ย้ายไปอยู่แถวโบสถ์วัดซางตาครูส ขยายกิจการจากรับรักษาโรคเป็นโรงพิมพ์ โดยรับพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับศาสนาคริสต์แจก และพิมพ์ประกาศของทางราชการ เรื่องห้ามนำฝิ่นเข้ามาในประเทศสยาม เป็นฉบับแรก จำนวน ๙,๐๐๐ แผ่น เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๘๒ อีกด้วย กิจการโรงพิมพ์นี้นับเป็นประโยชน์สำหรับคนไทยมาก เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญซึ่งคนรุ่นหลังได้ศึกษาส่วนหนึ่งก็มาจากโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ นอกจากนี้ท่านได้ออกหนังสือพิมพ์รายปีฉบับหนึ่ง ชื่อว่า บางกอกคาเลนเดอร์ (Bangkok Calender) ต่อมาได้ออกหนังสือพิมพ์รายปักษ์อีกฉบับหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ ชื่อว่า บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) นอกจากหนังสือพิมพ์แล้วยังได้พิมพ์หนังสือเล่มจำหน่ายอีกด้วย เช่น ไคเภ็ก ไซ่ฮั่น สามก๊ก เลียดก๊ก ห้องสิน ฯลฯ หนังสือของหมอบรัดเลย์นั้น เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ขุนนางและราชสำนัก โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ที่ลงบทความแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง
นอกจากงานด้านโรงพิมพ์ที่หมอบรัดเลย์เข้ามาบุกเบิกและพัฒนาให้วงการสิ่งพิมพ์ไทยแล้ว งานด้านการแพทย์และด้านสาธารณสุขที่ท่านทำไว้ก็มิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน หมอบรัดเลย์นับว่าเป็นหมอฝรั่งคนแรกที่ได้นำเอาหลักวิชาแพทย์สมัยใหม่เข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทย มีการผ่าตัดและช่วยรักษาโรคต่างๆ โดยใช้ยาแผนใหม่ ซึ่งช่วยให้คนไข้หายป่วยอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญที่สุด คือ การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ
ด้วยคุณงามความดีที่หมอบรัดเลย์มีต่อแผ่นดินไทย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พวกมิชชันนารีและหมอบรัดเลย์เช่าที่หลังป้อมวิไชยประสิทธิ์อยู่จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าจนกระทั่งหมอบรัดเลย์ถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖ รวมอายุได้ ๗๑ ปี






พระกัลยาณไมตรี
(ดร.ฟรานซิส บี แซร์) (Dr. Francis Bowes Sayre)

ประวัติและผลงานที่สำคัญ พระยากัลยาณไมตรี เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ ที่มลรัฐเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และได้เป็นศาสตราจารย์วิชากฎหมายของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก่อนที่จะเข้ามารับราชการในประเทศไทยในตำแหน่งที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๖ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๘
ดร.แซร์ มีบทบาทสำคัญในการปลดเปลื้องข้องผูกพันตามสนธิสัญญาเบาว์ริงที่ไทยทำไว้กับประเทศอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ ๔ และสนธิสัญญาลักษณะเดียวกันที่ไทยทำไว้กับประเทศอื่น ๆ ซึ่งฝ่ายไทยเสียเปรียบมากในเรื่องที่คนในบังคับต่างชาติไม่ต้องขึ้นศาลไทย และไทยจะเก็บภาษีจากต่างประเทศเกินร้อยละ ๓ ไม่ได้ ประเทศไทยพยายามหาทางแก้ไขสนธิสัญญาเสียเปรียบนี้มาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ ปรากฏว่ามีเพียง ๒ ประเทศที่ยอมแก้ไขให้โดยยังมีข้อแม้บางประการ ได้แก่ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่ยอมแก้ไขใน พ.ศ. ๒๔๓๖ และญี่ปุ่นยอมแก้ไขใน พ.ศ. ๒๔๖๖
เมื่อ ดร.แซร์ เข้ามาประเทศไทยแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนประเทศไทยไปเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญากับประเทศในยุโรป ดร.แซร์ เริ่มออกเดินทางไปปฏิบัติงานใน พ.ศ. ๒๔๖๗ การเจรจาเป็นไปอย่างยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจรจากับอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งต่างก็พยายามรักษาผลประโยชน์ของตนเต็มที่ แต่เนื่องจาก ดร.แซร์ เป็นผู้มีวิริยอุตสาหะ มีความสามารถทางการทูต และมีความตั้งใจดีต่อประเทศไทย ประกอบกับสถานภาพส่วนตัวของ ดร.แซร์ ที่เป็นบุตรเขยของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา จึงทำให้การเจรจาประสพความสำเร็จ ประเทศในยุโรปที่ทำสนธิสัญญากับไทย ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สเปน โปรตุเกส เดนมาร์ก สวีเดน อิตาลี และเบลเยี่ยม ยินยอมแก้สนธิสัญญาให้เป็นแบบเดียวกับที่สหรัฐอเมริกายอมแก้ให้
ดร.แซร์ ถวายบังคมลาออกจากหน้าที่กลับไปสหรัฐอเมริกาใน พ.ศ. ๒๔๘๖ แต่ก็ยังยินดีที่จะช่วยเหลือประเทศไทย ดังเช่นใน พ.ศ. ๒๔๖๙ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน ดร.แซร์ได้ถวายคำแนะนำเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมือง และแนวทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ตามที่ทรงถามไป และยังได้ร่างรัฐธรรมนูญถวายให้ทรงพิจารณาด้วย
จากคุณงามความดีที่ ดร.แซร์ มีต่อประเทศไทย จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยากัลยาณไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ และต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๑๑ รัฐบาลไทยได้ตั้งชื่อถนนข้างกระทรวงต่างประเทศ (วังสราญรมย์) ว่าถนนกัลยาณไมตรีพระยากัลยาณไมตรีถึงแก่อนิจกรรมที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ อายุได้ ๘๗ ปี
เรื่องน่ารู้
ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ เป็นชาวตะวันตกคนที่ ๒ ที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยากัลยาณไมตรีชาวตะวันตกคนแรกที่เป็นพระยากัลยาณไมตรี เป็นคนอเมริกันเช่นเดียวกับ ดร.แซร์ มีนามเดิมว่า เจนส์ ไอเวอร์สัน เวสเตนการ์ด (Jens Iverson Westengard) เข้ามารับราชการในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ - ๖ โดยใน พ.ศ. ๒๔๔๖ - ๒๔๕๑ เป็นผู้ช่วยที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน หลังจากนั้นเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินจนถึง พ.ศ. ๒๔๕๘ จึงกราบถวายบังคมลาออกกลับไปสหรัฐอเมริกา เวสเตนการ์ดได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยากัลยาณไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ และถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ อายุ ๔๗ ปี

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

โครงงานทะเลน้อย

โครงงานสังคมศึกษา
เรื่อง ทะเลน้อย
จัดทำโดย
1. นางสาว นริศรา ผิวผ่อง เลขที่ 1
2. นางสาว พิชยา กิ้มเส้ง เลขที่ 6
3. นางสาว ภัทรลดา ไชยพูล เลขที่ 7
4. นางสาว ฐิติมา เทพรักษ์ เลขที่ 9
5. นางสาว วรัญญา แก้วนวลศรี เลขที่ 12
6. นางสาว ศศิภา นวลหนู เลขที่ 29
เสนอ
อาจารย์ การุญ สุวรรณรักษา
ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2553
อุทยานนกน้ำทะเลน้อย




นกยางขาว
นกอีโก้ง นกต้อนรับแขกแห่งทะเลน้อย


เลือกหัวข้อที่ท่านต้องการชม


1. บรรยายสรุปทะเลน้อย 2. ภูมิศาสตร์3. ภูมิอากาศ4. พืชพรรณ5. สัตว์ป่า6. นกในทะเลน้อย7. ท่องธรรมชาติทะเลน้อย8. ข้อปฏิบัติในการเที่ยวทะเลน้อย9. ติดต่อขอข้อมูลการท่องเที่ยว / ที่พักแรม 10. การเดินทาง


บรรยายสรุปทะเลน้อย


ทะเลน้อย เป็นทะเลสาบน้ำจืด มีพื้นที่ประมาณ 30 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในตำบลนางตุงและตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีคลองนางเรียมยาว 2 กิโลเมตรเชื่อมระหว่างทะเลน้อย กับทะเลสาบสงขลา ทางฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของชุมชนทะเลน้อยประมาณ 2,000 ครัวเรือน ทางฝั่งตะวันออกฝั่งเหนือ ฝั่งใต้ เป็นป่าพรุและพงหญ้า
ชุมชนรอบๆ ทะเลน้อย วิถีชีวิตชาวประมงน้ำจืด
ทะเลน้อยมีความลึกเฉลี่ย 1.5 เมตร เป็นแหล่งน้ำที่มีปลาน้ำจืดชุกชุมหลายชนิด เดิมชาวทะเลน้อยทำการประมงเป็นอาชีพหลัก ขายปลาสด ปลาเค็ม ปลาย่าง ปลาร้า ทำรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ดี เมื่อมีผู้คนมากขึ้น จำนวนกุ้งปลาน้อยลง ชาวทะเลน้อยต้องเบนไปทำอาชีพอื่นแทน เช่น ค้าขาย ขับรถโดยสารประจำทางมีรถยนต์วิ่งรับผู้โดยสารประจำวัน ระหว่างตัวเมืองพัทลุงกับทะเลน้อยจำนวน 70 คัน รถจักรยานยนต์วิ่งรับส่งทั่วไปจำนวน 200 คัน อาชัพหลักของชาวทะเลน้อยในปัจจุบัน คือ ประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากกระจูด มีสื่อ หมวก พัด กระเป๋า รองเท้า แฟ้มเอกสาร ชาวทะเลน้อยสานเสื่อชำนาญมาก มีลวดลายสีสันงดงามสามารถส่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไปขายยังจังหวัดใกล้เคียง ทำรายได้ปีละประมาณ 60 ล้านบาท กระจูดที่ปลูกเองไม่พอต้องซื้อมาจากตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราชทางฝั่งตะวันออก เหนือ ใต้ เป็นป่าดงดิบขึ้นหรือป่าพรุ มีไม้หลายชนิด เช่น ไม้เสม็ดขาว จิก หว้า กระทุ่มหมู่ ทองหลาง ตีนเป็ด เตียว เนียน เมา เตยน้ำ ที่ใดมีไม้ขึ้นห่างๆ จะมีลาโพ หญ้าปล้อง กระจูดหนู ขึ้นแทนเต็มไปหมด จึงเป็นที่อาศัยของลิงแสม ลิงลม ชะมดน้ำ ชะมดเช็ด นาก เสือปลา นกนานาชนิดเมื่อประมาณ 50 ปี มาแล้ว มีช้างป่านับ 100 ตัว จระเข้ชุกชุมมาก ปัจจุบัน นี้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว
ดอกบัวบานสะพรั่งทั่วทะเลน้อย สมญาทะเลล้านบัว
ในทะเลน้อย อุดมด้วยพืชน้ำ เช่น บัว ผักตบชวา จอกหูหนู สาหร่าย กุ้งและปลา เป็นอาหารของนกอย่างสมบูรณ์ ประกอบกับบริเวณรอบ ๆ มีพงหญ้า มีป่าหนาแน่นนกขนาดใหญ่ทำรังหลบซ่อนได้อย่างปลอดภัย จึงอุดมไปด้วยนกชนิดต่าง ๆ ถึง 187 ชนิด ทั้งนกประจำถิ่นและนกที่อพยพมาจากที่อื่นตามฤดูกาล ได้แก่ นกเป็ดน้ำ นกกาบบัว นกกระทุง นกกาน้ำ นกนางนวล นกกระเด็น นกกระสาแดง นกเจา นกคับแค นกแขวก นกอีลุ้ม นกตีนเทียน นกพริก นกอีโก้ง นกกวัก นกกะปูด นกอัญชัน นกเหยี่ยว นกยางขาว นกยางกรอก นกยางแดง นกยางควาย นกยางหัวเปีย นกจะชุกชุมมากที่สุดในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน มีจำนวนเป็นแสนๆ ตัวที่เดียว

ทะเลน้อย แหล่งรวมนกน้ำหลากชนิด ประชากรนกที่อาศัยอยู่ นับได้เป็นแสนๆ ตัว
ป่าไม้แหล่งที่อยู่ของนกถูกทำลายไปมาก ผู้คนจับนกกินเป็นอาหาร เกิดอาชีพเก็บไข่นกขาย ปล่อยฝูงควายเหยียบย่ำรังและไข่นกเสียหาย หากปล่อยไว้เช่นนี้นกจะสูญพันธุ์เหมือนกับช้างและจระเข้ ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว นายผ่อง เล่งอี้ อดีตอธิบดีกรมป่าไม้ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายจัดการสัตว์ป่า เห็นความสำคัญของแหล่งนกน้ำทะเลน้อย จึงดำเนินการให้จัดตั้งเป็นอุทยานนกน้ำ เมื่อให้มีการสำรวจเห็นว่ามีความเหมาะสมจึงได้รับประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 พร้อมกับส่งเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติการรวมพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทั้งหมด 457 ตารางกิโลเมตรประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นลำดับที่ 110 ซึ่งพันธกรณีของอนุสัญญาฯ มีผลบังคับเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2541 โดยเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำควนขี้เสียน เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar site) แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตามพันธกรณีของอนุสัญญาเริ่มแต่ทะเลน้อยเป็นอุทยานนกน้ำ ทะเลน้อยกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของภาคใต้ มีผู้คนต่างจังหวัดและชาวต่างประเทศมาเยือนมิได้ขาด สิ่งก่อสร้างมีเพิ่มขึ้น มีศาลาพัก เรือนรับรอง พระตำหนัก อาคารที่ทำการของเจ้าหน้าที่ตั้งเรียงรายอยู่ในน้ำ ห่างฝั่งออกไปทางตะวันออกมีชื่อเรียกอย่างไพเราะ เช่น ศาลาบัวหลวง ศาลาบัวแดง เรือนกาบบัว เรือนนางนวล เรือนอัญชั่น เป็นต้น อาคารทุกหลังมีสะพานถาวรเชื่อมถึงกันโดยตลอดโดยทะเลน้อยมีอากาศดี มีทิวทัศน์งดงาม ขณะที่เดินผ่านสะพานเหมือนเดินอยู่เหนือทะเล ดอกบัวชูดอกสีขาว ม่วง แดง โอนเอนไปมาตามสายลม หากต้องการชมนกจำนวนมาก ๆ ควรลงเรือหางยาวออกชมในยามเย็น เป็นเวลาที่ฝูงนกพากันบินกลับรวงรัง ส่งเสียงร้องประสานกันเหมือนเสียงดนตรีธรรมชาติ มีเรือหางยาวจอดรอรับบริการในอัตราลำละ 200 บาท(พ.ศ. 2546) นั่งได้ 12 คน ไม่กำหนดเวลาลอยเรือท่องเที่ยวไปจนผู้ไปชมจุใจทะเลน้อยเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ เป็นแหล่งเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดพัทลุง เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับประเทศ เป็นอุทยานนกน้ำที่มีนกหลายชนิด และมีนกจำนวนมากที่สุดของไทย ทะเลน้อยอยู่ห่างจากตัวเมือง35 กิโลเมตร หนทางไปมาสะดวกสบาย มีรถประจำทางวิ่งรับคนโดยสารตลอดวันพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยซึ่งครอบคลุมพื้นที่จังหวัดพัทลุง จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลาเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง อันมีคุณค่ายิ่งต่อระบบนิเวศ และการดำรงชีวิตของประชาชนรอบพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้ เป็นแหล่งความรู้ทางธรรมชาติวิทยา วัฒนธรรม และมีความสวยงามของทิวทัศน์ในการพักผ่อนหย่อนใจ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางภาคใต้ สมควรแก่การอนุรักษ์ให้เกิดประโยชน์แก่มวลชีวิตที่เกี่ยวข้องอย่างยั่งยืนตลอดไป รัฐบาลจึงจำเป็นต้องดำเนินการจัดการอนุรักษ์พื้นที่ให้ เหมาะสมกับสถานภาพควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศและความจำเป็นทาง เศรษฐกิจของประชาชนโดยเฉพาะจำเป็นต้องส่งเสริมรายได้ของชุมชนท้องถิ่น ให้มีรายได้โดยไม่เข้าไปใช้ทรัพยากกรในทะเลน้อยโดยตรง และจากข้อมูลนักท่องเที่ยวในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา มีผู้เข้าไปชมทะเลน้อยแต่ละปีประมาณ กว่าสามแสนคน จึงจำเป็นต้องมีการให้ความรู้ ความตระหนักถึงคุณค่าทรัพยากรและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ให้แก่ผู้เข้าไปใช้สถานที่กรมป่าไม้เดิมจึงมีโครงการร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดให้มีโครงการ “ศูนย์ศึกษาธรรมชาติทะเลน้อย” ขึ้นเพื่อดำเนินกระบวนการให้ความรู้ สร้างจิตสำนึก จัดค่ายฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติเป็นสถานที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นพื้นที่แห่งแรกของประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติในทะเลน้อยจากการใช้ประโยชน์โดยตรงของประชาชน และส่งเสริมรายได้ให้แก่ชุมชนในท้องถิ่น จากการท่องเที่ยว เพื่อรักษาทรัพยากรเหล่านี้ไว้ให้คงอยู่อำนวยประโยชน์อย่างยั่งยืนโครงการศูนย์ศึกษาธรรมชาติทะเลน้อย จึงได้จัดตั้งขึ้นโดยกรมป่าไม้และการสนับสนุนของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ทำการศึกษา สำรวจ ออกแบบ เพื่อก่อสร้าง จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนเพื่อเป็นแหล่งสำหรับศึกษาหาความรู้ ฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยมุ่งเน้นพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetland) เป็นสำคัญ และ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจให้ความสุขด้านการท่องเที่ยวทางธรรมชาติแก่ประชาชนซึ่งได้รับการจัดให้อยู่ในโครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยเริ่มการก่อสร้างในปี พ.ศ.2545 และเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2546 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ออกคำสั่งเปลี่ยนชื่อหน่วยงานจาก “ศูนย์ศึกษาธรรมชาติทะเลน้อย” เป็น “สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าทะเลน้อย”

ภูมิศาสตร์


ทะเลน้อย คือ แหล่งน้ำอันต่อเนื่องกับทะเลสาบสงขลา ตั้งอยู่เหนือสุด โดยมีทะเลหลวงในเขตจังหวัดพัทลุงกั้นกลาง และ ทะเลสาบคูขุด อยู่ทางใต้ในเขตจังหวัดสงขลา มีอาณาเขตดังนี้ คือ ทิศเหนือ จดคลองชะอวดอำเภอชะอวด และอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ทิศตะวันออก จดทะเลหลวง ทางหลวงหมายเลข 4083อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ทิศใต้ จดคลองปากประ อำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง ทิศตะวันตก จดฝั่งทะเลน้อยด้านตะวันตก อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช สภาพพื้นที่ของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยทั้งหมด 450 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยส่วนที่เป็นพื้นดินและพื้นน้ำ ส่วนพื้นดินมีเนื้อที่ 422 ตารางกิโลเมตร หรือ ร้อยละ 94 ของพื้นที่ทั้งหมด ลักษณภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบชายทะเลสาบ ประกอบด้วยนาข้าวและป่าหญ้า ป่าพรุและป่าเสม็ด เป็นแอ่งน้ำมีพืชปกคลุม และที่ราบเชิงเทือกเขาบรรทัด มีเนินเขาสูงราว 100 เมตร จากระดับน้ำทะเล ส่วนพื้นน้ำมีเนื้อที่ 28 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 6 ของพื้นที่ทั้งหมด คือ ตัวทะเลน้อยนั่นเอง มีความกว้างราว 5 กิโลเมตร และยาว 6 กิโลเมตร ความลึกโดยเฉลี่ยราว 1.5 เมตร ปกคลุมด้วยพืชน้ำต่างๆ เช่น บัว กระจูด หญ้าน้ำกก ปรือ และ กง กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณน้ำตื้นและค่อนข้างนิ่ง
พรุควนขี้เสียน... ที่ราบริมทะเลสาบเป็นป่าพรุและป่าเสม็ด

ภูมิอากาศ

ภูมิอากาศโดยทั่วไปในภาคใต้ส่วนใหญ่จะมีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูฝนกับฤดูร้อนเท่านั้น ฝนจะเริ่มตกราว ๆเดือนสิงหาคม แต่ฤดูฝนจริงๆ จะเริ่มในเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ ส่วนทีเหลือจะเป็นช่วงฤดูร้อนที่มีฝนตกบ้างประปราย เนื่องจากได้รับอิทธิพลของลมบก และลมทะเล จึงทำให้อากาศในเขตทะเลน้อยสดชื่นและเย็นสบายตลอดปี เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ

พืชพรรณ


พื้นที่ป่าในทะเลน้อยแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ ป่าพรุ ซึ่งมีพรรณไม้เด่นคือต้นเสม็ด อันเป็นแหล่งทำรังของนกน้ำขนาดใหญ่ เช่น นกกระสาแดงและนกกาบบัว ทุ่งหญ้า ประกอบด้วยต้นกกหรือลาโพและหญ้าชนิดต่างๆป่าดิบชื้น จะพบบนที่ดอน เช่น ควนขี้เสียน ควนเคร็ง เป็นต้น พื้นที่นาข้าว จะเป็นแหล่งหากินของนกน้ำต่างๆ บริเวณพื้นน้ำ จะเป็นแหล่งรวมพืชพรรณไม้น้ำที่น่าสนใจหลายชนิด เช่น กง สาหร่าย กระจูด ผักตบ และบัวชนิดต่างๆ โดยเฉพาะบัวสายจะขึ้นเต็มพื้นน้ำเป็นทะเลบัวที่สวยงามที่สุดในประเทศไทย

สัตว์ป่า


สัตว์ป่าที่มีรายงานในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยมีไม่ต่ำกว่า 250 ชนิด โดยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 13 ชนิด เช่น ลิงแสม เสือปลา และลิงลม เป็นต้น สัตว์เลื้อยคลานอย่างน้อย 25 ชนิด เช่น เต่า ตะพาบน้ำ จิ้งแหลน และงูชนิดต่างๆ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก กุ้ง ปู หอย และสัตว์น้ำอื่นอีกเป็นจำนวนมาก ส่วนพวกปลาน้ำจืดพบไม่ต่ำกว่า 45 ชนิด ปลาที่น่าสนใจและพบได้ไม่ยาก เช่น ปลาช่อน ปลากระดี่ ปลาซิว ส่วนปลาที่น่าสนใจแต่พบตัวได้ยากกว่า เช่น ปลาปักเป้าน้ำจืด และปลาเสือพ่นน้ำ เป็นต้น

นกในทะเลน้อย


จากสภาพพื้นน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณไม้น้ำ และสัตว์น้ำต่างๆ ทะเลน้อยจึงมีความเหมาะสมเป็นแหล่งอาศัยหากินทำรังและวางไข่ของนกนานาชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งนกน้ำ จากการสำรวจพบนกราว 187ชนิด แยกออกเป็นนกประจำถิ่นอาศัยอยู่ประจำตลอดปี และนกอพยพย้ายถิ่น โดยจะอพยพมาในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคม-มีนาคม ซึ่งเป็นช่วงที่นกมีประชากรมากที่สุดถึงราว 43,000 ตัว ส่วนช่วงที่มีนกน้อยที่สุดอยู่ระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน อันเป็นช่วงที่นกน้ำทำรัง นกต่างๆที่น่าสนใจในทะเลน้อยมีดังนี้ วงศ์นกยาง (Heron) นกน้ำในวงศ์นี้มีลักษณะขายาว คอขาว กินปลาและสัตว์น้ำเล็กๆ มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ พบในทะเลน้อยราว 15 ชนิด เช่น นกยางไฟหัวดำ(Yellow Bittern) นกยางโทนใหญ่(Great Egret)นกกาบบัว (Painted Stork) นกกระสาแดง (Purple Heron) เป็นต้น โดยเฉพาะนกยางและนกกระสาแดง จะทำรังและอาศัยอยู่ในทะเลน้อยตลอดทั้งปีเป็นจำนวนมากวงศ์นกเป็ดน้ำ (Duck and Geese) นกน้ำคล้ายเป็ดซึ่งมีปากแบน แต่มีขนาดเล็กกว่า สามารถว่ายน้ำและดำน้ำหาปลาได้ดี ส่วนใหญ่อยู่รวมกันเป็นฝูง อพยพมาในฤดูหนาว นกเป็ดน้ำที่พบในทะเลน้อย เช่น นกเป็ดแดง (Lesser Whistling-Duck) เป็ดคับแค (Cotton Pygmy-Goose) เป็ดลาย (Garganey)นอกจากนี้ยังมี นกเป็ดผี (Little Grebe) ซึ่งอยู่ในวงศ์ Grebes มีลักษณะคล้ายนกเป็ดน้ำ ต่างกันตรงปลายปากแหลม ว่ายน้ำและดำน้ำเก่งมากวงศ์นกอัญชัญ (Rails) นกน้ำวงศ์นี้จะมีขาและนิ้วยาว สามารถเดินหากินบนกอไม้น้ำได้เป็นอย่างดี นกวงศ์นี้พบได้ง่ายในบริเวณรอบๆ ที่ทำการเขตฯนั่นเอง ส่วนใหญ่เป็นนกประจำถิ่น เช่น นกอัญชัญคิ้วขาว (White-browed Crake) นกกวัก(White-Breasted Waterhen) นกอีลุ้ม(Waterhen) นกอีล้ำ(Common Moorhen)นกคู๊ท (Coot) วงศ์นกพริก (Jacana) นกน้ำวงศ์นี้มีนิ้วที่ยาวมาก สามารถเดินข้ามบนกอไม้น้ำได้ดี ลักษณะเด่นตัวผู้จะทำหน้าพี่ฟักไข่เลี้ยงลูก ตัวเมียจับคู่ครั้งละหลายตัว พบที่ทะเลน้อย 2 ชนิด คือ นกอีแจว(Pheasant-tailed Jacana)นกพริก (Bronzewinged Jacana)วงศ์นกกาน้ำ (Cormorant) นกน้ำสีดำรูปร่างคล้ายกา นิ้วเท้ามีพังผืดดำน้ำเก่งมาก มีทั้ง กาน้ำเล็ก(Little-Cormorant) และ กาน้ำใหญ่ (Great Cormorant)วงศ์นกตีนเทียน (Stilts) นกชายเลนชนิดนี้มีขายาวปากยาว มีสีเป็นขาวดำ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเมืองไทยมีชนิดเดียว คือ นกตีนเทียน (Blackwinged Stilt)นอกจากนี้แล้วยังมีนกที่พบเสมอ เช่น เหยี่ยวแดง (Brahminy Kite) นกกระแตแต้แว๊ด (Redwattled - Lapwing) นกนางนวลแกรบเคราขาว (Wiskered Tern) นกกระเต็นน้อยธรรมดา (Common Kingfisher) นกนางแอ่นบ้าน (Barn Swallow) เป็นต้น



ท่องธรรมชาติทะเลน้อย


นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาถึงทะเลน้อยจะมองเห็นตัวทะเลน้อยได้ส่วนหนึ่ง หลังจากเดินเข้าไปภายในเขตฯ แนะนำว่านักท่องเที่ยวที่เพิ่งเดินทางมาทะเลน้อยเป็นครั้งแรกควรจะเข้าไปหาข้อมูลของพื้นที่ใน ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ที่อยู่ริมตลิ่งใกล้ๆ กับประตูทางเข้าเขตฯ จากนั้นจึงเริ่มไปพักผ่อนที่ศาลาท่าเรือหรือลงเรือชมธรรมชาติ เส้นทางศึกษาธรรมชาติของทะเลน้อยแบ่งออกเป็นหลายจุด จากที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเที่ยวชมได้ดังนี้1.สะพานไม้รอบที่ทำการฯ สิ่งที่น่าสนใจตามทางเดินเท้าในบริเวณที่ทำการฯ มีดังนี้ นกอีโก้ง นกพริก นกอีล้ำ นกยางควาย จอกหูหนู บัวสาย ปลากระดี่ ปลาช่อน สำหรับต้นกระจูดที่ใช้สำหรับทำหัตถกรรม ทางเขตฯ ได้นำมาปลูกแสดงไว้ใกล้ๆ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสได้ชมลักษณะดั้งเดิมของต้นกระจูด ก่อนนำไปผ่านขบวนการผลิต ขณะที่ท่านเดินผ่านไปตามเสาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสาไม้หรือเสาปูน ลองสังเกตดูว่าท่านเห็นวัตถุก้อนสีขาวหรือก้อนสีชมพูบ้างไหม ท่านทราบไหมว่ามันคืออะไร และแตกต่างกันอย่างไรระหว่างทางเดินท่านจะพบผักตบชวาที่ถูกกั้นอยู่ในกรอบและอาจพบนกอีโก้งหาอาหารกินอยู่ใกล้ๆ กอผักตบชวาเหล่านั้นคือ แหล่งสร้างรังวางไข่ของนกน้ำที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น คือ นกอีโก้ง และ นกพริก และยังเป็นที่หลบภัยของสัตว์น้ำอื่นๆ ด้วยศาลากลางน้ำ เป็นจูดที่น่าสนใจและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวที่นำอาหารกลางวันมารับประทาน ด้วยบรรยากาศที่แวดล้อมไปด้วยความชุ่มฉ่ำของสายลมเย็นท่ามกลางกลุ่มบัวสายและจอกหูหนู มีเสียงกบ เขียดขับกล่อมพร้อมกับได้เห็นนกนานาพันธุ์ต่างสีต่างท่าทาง ต่างก็หากินอย่างอิสระ นับเป็นบรรยากาศที่หาได้ยากขึ้นๆทุกวัน หากท่านมีเวลามาก ขอแนะนำให้ท่านลงเรือไปชมความงามของทะเลน้อยในจุดอื่นๆ บ้าง

มุมหนึ่งของสะพานไม้ มีนกอีโก้งคอยรับแขกที่มาเยือน

สัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด กับบรรยากาศที่สบายๆ ณ ทะเลน้อย
2.หมู่บ้านทะเลน้อย เดิมชาวบ้านมีอาชีพทำนาและทำประมงเป็นหลัก ปัจจุบันชาวบ้านส่วนหนึ่ง(อาจจะถึง1 ใน 3) เดินทางออกไปหางานทำในต่างถิ่น ชาวบ้านที่เหลือก็ยังทำนา ทำประมง ทำหัตถกรรม (เสื่อกระจูด) ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป แต่ที่น่าประทับใจก็คือท่านจะพบกับรอยยิ้มและอัธยาศัยไมตรีของชาวบ้านที่มีต่อนักนักท่องเที่ยว ของฝากจากทะเลน้อย คงหนีไม่พ้นผลิตภัณฑ์จากต้นกระจูดที่เกิดจากฝีมือและความวิริยะอุตสาหะของแม่บ้านชาวทะเลน้อย ไม่ว่าจะเป็น เสื่อ หมวก แผ่นรองจาน แผ่นรองแก้ว กระเป๋า ฯลฯ และของฝากที่ขึ้นชื่ออีกอย่างหนึ่งของทะเลน้อยก็คือปลาดุกร้าที่อร่อยแบบสุดจะบรรยาย ต้นตำรับของปลาดุกร้าของแท้ต้องที่ทะเลน้อยเท่านั้น 3.ดงนกนางนวล ในช่วงเดือนตุลาคม-เดือนเมษายน เมื่อเรือออกจากท่าได้ราว 150 เมตร ท่านจะพบฝูงนกนางนวลเกาะอยู่ตามหลักไม้ที่ปักไว้ตามทางเข้าออกของเรือ นกนางนวลที่พบบ่อยในทะเลน้อยมี 2 ชนิด คือ นกนางนวลแกลบดำปีกขาว (Whitewinged Tern) และ นกนางนวลแกลบเคราขาว (Whiskered Tern) ท่านจะพบนกนางนวลแกลบเหล่านี้เกาะพักรวมกันตามไม้ที่ปักไว้ดังกล่าว นกทั้ง 2 ชนิดจะย้ายไปหาอาหารกินที่อื่นนอกช่วงเวลาที่กล่าวไว้ข้างต้น
ฝูงนกนางนวลอพยพ
4.ดงบัวสาย ผ่านจากนกนางนวลเรือจะพาท่านวนไปตามเข็มนาฬิกา จะผ่านไปในดงบัวสาย ดงบัวที่มีสีชมพูบ้านสะพรั่งในช่วงเวลา 8 โมงเช้า เมื่อแดดร้อนแรงขึ้น บัวสายจะเริ่มหุบ และจะบานเต็มที่อีกครั้งหนึ่งในวันรุ่งขึ้นบัวสายเป็นบัวพันธุ์พื้นเมืองที่แพร่กระจายทั่วไปในประเทศไทย ก้านใบสามารถนำมาประกอบอาหารได้ เช่น แกงส้ม ต้มกระทิ ผัดน้ำมัน หรือ ต้มจิ้มน้ำพริกได้ ในบริเวณดงบัวสายท่านอาจพบ นกยางกรอก นกอัญชันคิ้วขาว นกพริก หรือ นกอีแจว เดินหากินอยู่บนใบบัว ท่านสงสัยไหมว่าทำไมนกเหล่านั้นจึงเดินบนใบบัว หรือพืชน้ำ เช่นจอก แหนได้ ลองสังเกตดูความยาวของนิ้วเท้าของนกเหล่านั้นให้ดี
นกยางหากินตามดงบัว
5.ดงนกเป็ดน้ำ นกเป็ดน้ำเป็นนกมีปีก มันบินได้และเคลื่อนย้ายที่อยู่เสมอ ส่วนมากจะพบได้ตามดงกระจูดหนูที่ไม่หนาแน่น ตามดงบัวสาย หรือ บัวหลวง นกเป็ดน้ำที่พบได้ตลอดปี คือ นกเป็ดแดง และ เป็ดคับแค(ยกเว้นเดือนสิงหาคม-ต้นเดือนตุลาคม จะเป็นช่วงที่นกเป็ดน้ำผลัดเปลี่ยนขนจะพบได้ยาก) ส่วนเป็ดลาย และเป็ดชนิดอื่นๆ จะเป็นเป็ดที่อพยพมาจากทางตอนเหนือของทวีปเอเชียพบได้เฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม-ต้นเดือนมีนาคม ส่วนมากเราจะเข้าใกล้ฝูงนกเป็ดน้ำได้ไม่มากนัก นกจะบินหนีขึ้นพร้อมๆกันครั้งละเป็นพันๆตัว พร้อมกับเสียงกระพือปีกพรึบพรับเป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจมาก ส่วนใหญ่คนขับเรือจะรู้ว่าจะพบนกเป็ดน้ำได้ที่ไหน 6.ดงกระจูดหนู เป็นพืชน้ำที่พบได้มาก มักขึ้นอยู่หนาแน่นเป็นกลุ่มใหญ่ๆ เป็นที่หลบภัยของนกและสัตว์น้ำ กระจูดหนูเป็นพืชที่มีลำต้นเปราะบาง ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นวัสดุในการทำเครื่องใช้ การจับต้นกระจูดหนูควรระมัดระวัง ต้นเปราะและคมอาจบาดมือท่านได้ ต้นอ่อนของกระจูดหนูเป็นอาหารของนกอีโก้งและปลาบางชนิดที่ว่างๆในดงกระจูดหนูท่านอาจพบเป็ดคับแค หรือ สาหร่ายข้าวเหนียว พืชมีดอกไม่ใช่สาหร่ายแต่เราไปเรียกมันว่าสาหร่าย สาหร่ายข้าวเหนียวมีดอกเล็กๆสีเหลือง เป็นพืชพิเศษชนิดหนึ่งที่สามารถจับสัตว์น้ำขนาดเล็กกินเป็นอาหารได้ โดยใช้กระเปาะเล็กๆที่มีอยู่มากมายใต้น้ำเป็นกับดักจับ ลองหยุดเรือแล้วพิจารณาดูลักษณะของกระเปาะดังกล่าว 7.ศาลานางเรียม ตั้งอยู่ในบริเวณปากคลองนางเรียม เป็นศาลาที่ปลูกสร้างขึ้นกลางน้ำขนาดกลาง รับน้ำหนักได้ราว 30 คน ศาลาน้ำเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมมารับประทานอาหารกลางวัน ด้วยว่ามีบรรยากาศร่มรื่น ลมเย็นสบาย (ที่สำคัญมีห้องสุขาไว้บริการ) รอบๆบริเวณศาลามีพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจหลายชนิด เช่น บัวหลวงที่อยู่ทางด้านทิศเหนือจะมีสีขาว ส่วนทางทิศใต้จะมีสีชมพู ทางทิศตะวันตกจะพบต้นเตยน้ำหลายต้นขึ้นรวมกลุ่มกันเป็นดงใหญ่ ในตอนใกล้ค่ำนกกระยางควายจะมาอาศัยนอนและถ่ายมูลทิ้งไว้เป็นหลักฐาน 8.คลองนางเรียม เป็นคลองดั้งเดิม 1 ใน 3 คลองสำคัญและเป็นคลองสุดท้ายที่ยังมีน้ำไหลสะดวกไม่ตื้นเขิน เช่น คลองดั้งเดิมอื่นๆ แต่เดิมทะเลน้อยเคยมีจระเข้อาศัยอยู่ค่อนข้างชุกชุม และคลองนางเรียมก็เป็นคลองที่มีจระเข้ชุกชุมเช่นกัน เป็นที่น่าสนใจว่าปัจจุบันจระเข้เหลือเป็นเพียงตำนานให้เล่าขานกับเท่านั้น คลองนางเรียมมีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตรเศษ ไหลไปออกทะเลสาบสงขลา ชาวบ้านใช้คลองนี้เป็นทางสัญจรระหว่างทะเลน้อยกับหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมทะเล สองฝั่งคลองนางเรียมยังมีพันธุ์ไม้หลายชนิดปรากฏให้เห็น เช่น ต้นลำพู ต้นกุ่มน้ำ จิกพรุ เสม็ดขาว บัวสาย บัวลินจง 9.แหลมดิน เมื่อจะพ้นคลองนางเรียมทางขวามือเป็นทุ่งโล่งมีหญ้าสั้นๆขึ้นเขียวขจี โดยเฉพาะในฤดูฝนก่อนที่น้ำจะหลากท่วมราว 1-2 เดือน เมื่อพ้นคลองนางเรียมมาแล้วจะออกสู่ทะเลสาบ เราสามารถหาที่จอดเรือแล้วขึ้นฝั่งไปเดินบนดินได้ แหลมดินเป็นจุดดูนกน้ำและนกชายเลนได้เป็นอย่างดี มีนกเด่นๆ เช่น นกตีนเทียน นกช้อนหอยขาว นกหัวโตหลังจุดสีทอง และ นกแอ่นทุ่งใหญ่ เป็นต้น ถ้าโชคดีอาจได้พบนกกาบบัว หรือ นกตะกรุม เดินหากินอยู่บ้างก็ได้
มุมหนึ่งในทะเลน้อย
10.ดงบัวบา จากแหลมดินคนขับเรือจะนำท่านเข้าสู่คลองบ้านกลางและกลับเข้าสู่ตัวทะเลน้อยอีกครั้งหนึ่งถ้าท่านสังเกตสักนิด ขณะที่เรือแล่นผ่านดงกระจูดหนูหรือที่ว่างๆท่านอาจจะเห็นบัวชนิดหนึ่งที่มีดอกสีขาวเล็กๆมีเกสรสีเหลือง นั่นแหละ บัวบา หรือ ชบาน้ำ บัวที่แปลกไปจากบัวชนิดอื่นที่ท่านเคยรู้จักมา ลองบอกให้คนขับเรือหยุดเรือ แล้วพิจารณาดูการเกิดดอก การแตกใบว่าแตกต่างจากบัวสายหรือบัวหลวงที่ท่านรู้จักมาก่อนหรือไม่ 11.ผืนน้ำกว้าง หลังจากหาคำตอบจากบัวบาได้แล้วก็ถึงเวลาที่จะกลับที่ทำการฯ (ท่าเรือ) ทะเลน้อยช่วงนี้จะเป็นผืนน้ำกว้างและค่อนข้างลึก (1-2 เมตร) ไม่ค่อยมีพืชน้ำ ถ้าดูให้ดีจะเห็นเป็ดผีว่ายน้ำดำผุดดำว่าย หาอาหารกินอยู่ไม่ไกลนัก ตามหลักไม้ที่มีผู้ปักทิ้งไว้มักจะพบนกกาน้ำเล็ก (ตัวสีดำ) เกาะกางปีกผึ่งแดดหลังจากดำน้ำหาปลากินจนอิ่มแล้ว ถ้าท่านเหนื่อยแล้วก็ลองนั่งหลับตานึกดูซิว่าการนั่งเรือเที่ยวในครั้งนี้ท่านได้ความรู้อะไรบ้าง หรือถ้าเหนื่อยนักก็นั่งหลับได้เลย หลับสักงีบเล็กๆแต่ระวังอย่าลืมตัวตกน้ำไปก็แล้วกัน

ข้อปฏิบัติในการเที่ยวทะเลน้อย


เส้นทางศึกษาธรรมชาติที่ทะเลน้อย ส่วนใหญ่เป็นเส้นทางที่ต้องใช้เรือเป็นพาหนะหลักในการชมธรรมชาติการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องของนักท่องเที่ยวย่อมนำมาซึ่งความปลอดภัย ความสะดวกและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของแหล่งท่องเที่ยวควรปฏิบัติตัวดังนี้1.ศึกษาข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับนกน้ำและธรรมชาติของทะเลน้อยล่วงหน้า2.ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของกรมป่าไม้3.ลงเรือด้วยความระมัดระวัง และพยายามนั่งให้น้ำหนักของผู้โดยสารกระจายอยู่กลางๆลำเรือ ขณะเรือแล่นไม่ควรยื่นมือหรือเท้าออกไปนอกเรือ หรือ ทำให้เรือเสียการทรงตัว4.ขยะทุกชิ้นควรนำกลับมาทิ้งในถังขยะบนฝั่ง ถ้าพบขยะกรุณาเก็บมาทิ้งด้วย5.ไม่ควรส่งเสียงดังรบกวนขณะชมธรรมชาติ6.ไม่เก็บดอกไม้ หรือ ทำลายพืชพันธุ์ตามธรรมชาติที่ปรากฏตามทางศึกษาธรรมชาติ

ติดต่อขอข้อมูลการท่องเที่ยว / ที่พัก


- เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย โทร.0 7468 5230- สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าทะเลน้อย โทร.0 7468 5599- สำนักงาน ททท.ภาคใต้ เขต 2 โทร.0 7434 6514-6 - บ้านพักตากอากาศ "พรมเงิน" ริมทะเลน้อย โทร.0 7468 5225, 0 7468 5330- บ้านพักในอุทยานกน้ำทะเลน้อย โทร.0 7468 5230 - สวนพฤกษศาสตร์ ถนนสายลำปำ-ทะเลน้อย โทร.0 7461 4224


การเดินทาง


การเดินทางไปทะเลน้อย หากจะเริ่มจากกรุงเทพฯก็สามารถไปได้สะดวกทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และเครื่องบิน โดยจุดหมายปลายทางอยู่ที่จังหวัดพัทลุง
เครื่องบินต้องบินไปลงหาดใหญ่ หรือตรังแล้วนั่งรถยนต์มาที่พัทลุงและทะเลน้อยตามลำดับ
รถไฟ มีรถผ่านสถานีพัทลุงทุกวัน ติดต่อสถานีรถไฟกรุงเทพฯ โทร.0-2223-7010,0-2223-7020
รถยนต์ มีรถประจำทางแบบธรรมดาและปรับอากาศ ออกเดินทางจากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ (กรุงเทพฯ)ทุกวัน จากพัทลุงจะต้องนั่งรถสองแถวไปยังทะเลน้อย (มีคิวรถสองแถว พัทลุง-ทะเลน้อยอยู่ใกล้สถานีรถไฟ)โดยใช้เส้นทางหลวงสาย 4048 ผ่านอำเภอควนขนุน ตลาดปากคลอง สุดปลายทางที่ทะเลน้อย เป็นระยะทางประมาณ 32 กิโลเมตร




ภาพและข้อมูลโดย- สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าทะเลน้อย- สำนักงาน ททท.ภาคใต้ เขต 2- องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง